วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การบรรยาย ศิลปะร่วมสมัย

การแสดงศิลปนิพนธ์ชุด "นาฏยศิลป์ร่วมสมัย ศิลปการนุ่งผ้า"

การแสดงศิลปนิพนธ์ชุด "ระบำมอญราชสำนัก"

การแสดงศิลปนิพนธ์ชุด "อารยนครตามพรลิงค์"

การแสดงศิลปนิพนธ์ชุด "นริสยะบูชา"

การแสดงศิลปนิพนธ์ชุด "mermaid in thailand สมุทรนารี"

ไวรัสวังสราญรมย์ ล้อเลียน วิรัชสราญรมย์

ศิลปนิพนธ์ชุด ฟ้อนจำปาเมืองลาว


VDO การแสดงศิลปนิพนธ์ชุด "ฟ้อนจำปาเมืองลาว"

ละครนอกสุวรรณหงส์ ตอน ชุบตัว-ฟิ้น-ชมถ้ำเพรชพลอย

           VDO การแสดงละครนอกสุวรรณหงส์ ตอน ชุบตัว-ฟิ้น-ชมถ้ำเพรชพลอย

หนังใหญ่

 ประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่
มหรสพที่เก่าแก่ของไทยนี้ กล่าวกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่หลักฐานการแสดงหนังใหญ่เริ่มมี สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) นับเป็นมหารสพที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ปรากฏหลักฐานในการแสดงหนังใหญ่ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1) ว่าทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา เพื่อใช้แสดงเพิ่มขึ้นจากเรื่องรามเกียรติ์
สมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) มีหลักฐานการสร้างตัวหนังใหญ่และบทวรรณคดีที่ใช้ในเรื่องรามเกียรติ์ ใช้แสดงหนังใหญ่ชุดพระนครไหว ซึ่งต่อมาได้มีการนำมาเก็บไว้ ณ โรงละครแห่งชาติหลังเก่า แต่ถูกไฟไหม้เกือบหมด
สมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) พบการทำหนังใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บุรี และหนังใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรี
ชนิด ลักษณะตัวหนัง องค์ประกอบ และกรรมวิธี ในการสร้างตัวหนังใหญ่ของไทย
หนังใหญ่เป็นการแสดงที่เกิดจากการเอาศิลปะแขนงต่าง ๆ คือ หัตถศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ และดุริยางคศิลป์ และวรรณศิลป์ มาผสมผสานกันให้สอดคล้อง เหมาะสม เพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม อันแสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพทางด้านการแสดงของบรรพบุรุษของศิลปินไทย
เอกลักษณ์ที่เชิดหน้าชูตาของหนังใหญ่ในขณะนี้คือ ความเก่าแก่ สวยงามของตัวหนัง ใคร่ขอแนะนำให้ผู้อ่านได้ทราบถึงกรรมวิธีในการทำรูปหนังในเชิงวิทยาศาสตร์ หัตถกรรม และจิตรกรรม
ตัวหนังใหญ่เกิดจากการนำหนังสัตว์ที่ตายแล้วฉลุเป็นภาพและลวดลาย ใช้สีระบายเพื่อให้เกิดความสวยงาม หนังใหญ่แต่ละตัวแกะฉลุลายตามเนื้อเรื่องที่แสดง เป็นตัวละครที่มีอยู่ในเรื่องเป็นภาพฉากต้นไม้ ภูเขา ป่า สระน้ำ ปราสาท ยานพาหนะ ตัวละคร ภาพการต่อสู้ ซึ่งแต่ละตอนของเรื่องที่แสดงจะมีตัวหนังใหญ่เป็นภาพตัวหนังบรรยายกิริยา อาการคล้าย ๆ กับภาพสไลด์ที่ใช้บรรยายประกอบการอภิปรายเรื่องราวต่าง ๆ
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การแสดงหนังใหญ่ นับเป็นมหรสพที่ชาวไทยนำมาแสดงกันนานหลายร้อยปี จากหลักฐานในกฎมณเฑียรบาล พ.ศ. ๒๐๐๑ สมัยพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอยุธยาตอนต้น ได้บันทึกไว้ว่าหนังใหญ่เป็นมหรสพที่นิยมในสมัยนั้น แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นวัฒนธรรมของใคร เพราะการแสดงชนิดเดียวกันนี้เผยแพร่อยู่ในทวีปเอเซีย นับตั้งแต่วัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมจากอาณาจักรศรีวิชัย
การแสดงหนังใหญ่ยังคงนิยมแสดงกันอย่างต่อเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ มีช่างฝีมือแกะตัวหนังใหญ่ได้สวยงาม วิจิตรบรรจงมีสีสันสวยงามตระการตา เฉพาะชุดพระนครไหว หนังชุดนี้ถูกไฟไหม้ พ.ศ. ๒๕๐๓
การแสดงหนังใหญ่เป็นมหรสพที่เล่นในตอนกลางคืน อุปกรณ์ที่ใช้แสดงมีตัวหนัง ผู้เชิด คณะผู้เล่นวงมโหรีปี่พาทย์ ผู้ร้อง ผู้พากย์ ที่นิยมแสดงมากที่สุด คือ เรื่องรามเกียรติ โดยเลือกตอนใดตอนหนึ่งเช่นเดียวกับการแสดงโขน
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ ได้แก่ แผ่นหนัง เขม่าก้นหม้อหรือเถ้าจากกาบมะพร้าว น้ำข้าว ใบฟักข้าว สิ่ว มุก สีธรรมชาติ ไม้ไผ่ วิธีการเล่น หนังใหญ่ประกอบด้วย
๑. ตัวหนังที่ใช้เชิดต้องใช้ช่างฝีมือแกะสลักลวดลายเชิงจิตรกรรมอันวิจิตรบรรจง
๒. ดนตรีประกอบ เป็นการรวมของการแสดงดนตรีวงใหญ่ วงมโหรีปี่พาทย์ ด้วยการบรรเลงทั้งบทร้อง บทพากย์ บทเจรจา
๓. คนเชิด นับเป็นศิลปะการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูง ท่วงท่าการเชิดประกอบบทพากย์ บทร้องต้องดำเนินไปอย่างมีลีลา ที่จะให้ผู้ชมบังเกิดจินตภาพคล้อยตามอย่างเพลิดเพลินสนุกสนาน

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รองเง็ง

รองเง็ง

สาระสำคัญโดยรวม

      รองเง็ง  เป็นการละเล่นของชาวบ้านประเภทผสมผสานระหว่างท่าเต้นกับบทร้อง  การแสดงเหมือนกับรำวงทั่วไป  กล่าวคือ  มีการจัดตั้งคณะรองเง็งขึ้นเป็นคณะ  คณะหนึ่งมีนางรำประมาณ ๔ - ๑๐ คน  นางรำเหล่านี้จะถูกฝึกให้มีความชำนาญในจังหวะการเต้นแบบต่างๆ  พร้อมกันนั้นก็จะต้องสามารถร้องเนื้อร้องได้ทุกทำนอง  และต้องรู้ทั้งบทกลอนที่ท่องกันมาและสามารถผูกกลอนสดขึ้นร้องโต้ตอบกับคู่รำได้อย่างคล่องแคล่วและชำนาญ  นางรำส่วนใหญ่มักจะได้รับการฝึกหัดมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก  ในสมัยโบราณคณะรองเง็งคณะหนึ่ง  มักจะเป็นคนในครอบครัวหรือเครือญาติเดียวกัน  หรือไม่ก็คนในหมู่บ้านเดียวกัน (เพราะสะดวกในการฝึกซ้อม  และในการเรียกรวมตัวเมื่อมีผู้มาติดต่องานการแสดง)  หนึ่งในจำนวนนั้นจะมีนายโรงคนหนึ่งซึ่งมักจะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมของรองเง็งเป็นอย่างดี  และมักจะเป็นมือซอหรือมือไวโอลินประจำคณะด้วย 

ลักษณะการแสดงรองรองเง็งแตกต่างจากรำวงอย่างสิ้งเชิง  คือ
บทร้อง  การแสดงรองเง็งจะมีบทร้อง  ๒  ลักษณะคือ  ลักษณะแรกบทร้องเก่าๆ  ที่จดจำสืบต่อกันมา  อีกลักษณะหนึ่งเป็นการร้องสด  คือทั้งนางรำและคู่เต้นรำจะคิดเนื้อร้องสดๆ  ขึ้นมาร้องโต้ตอบกันในขณะที่เต้น  เนื่องจากเนื้อหาเป้าหมายของบทร้องเพลงรองเง็งส่วนใหญ่จะมุ่งอยู่ที่เรื่องราวเกี่ยวกับความรักและการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว  การโต้ตอบแก้เพลงกันระหว่างคู่เต้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดและสนุกสนานที่สุดด้วย  การแสดงรองเง็งของชาวบ้านนี้ผู้เล่นจะต้องมีปฏิภาณสูง  ต้องคิดกลอนได้เร็ว  มีความคิดแหลมคมจึงจะสามารถเล่นได้ดี 
การรำ  โดยปกติในการรำวงนั้นนางรำและคู่รำเดินไปรอบๆ  วง  แต่รองเง็งนั้นทั้งนางรำและคู่รำจะยืนอยู่ที่เดียว
สำหรับท่ารำ  แตกต่างจากรำวงเพราะการแสดงนี้ผู้รำไม่ได้เดินไปรอบๆ  วงเหมือนรำวง แต่ผู้รำจะยืนอยู่ที่เดียว  มีการใช้ท่าเท้า  ท่ามือ  การโอนตัวอ่อน  การโยกตัวและการย่อตัวเป็นหลัก
ประวัติความเป็นมา
รองเง็ง หรือ รองแง็ง เป็นศิลปะการเต้นรำพื้นเมืองของไทยมุสลิม ที่มีความสวยงามทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว รวมทั้งความสง่างามทางด้านแต่งกายที่เหมาะสมกลมกลืนกับความไพเราะอ่อนหวานของท่วงทำนองเพลง
ประวัติความเป็นมาของการแสดงรองเง็ง ยากที่จะระบุให้ชัดเจนลงไปว่าการแสดงรองเง็งเกิดขึ้นเมื่อใด จากการสอบถามจากผู้รู้และเอกสารต่างๆ เชื่อกันว่าศิลปะการแสดงรองเง็งมีมาไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ปีมาแล้ว โดยได้รับแบบอย่างมาจากศิลปะการแสดง ทั้งท่าเต้นและทำนองจากการแสดงพื้นเมืองของชาวตะวันตก คือ ชาวสเปนหรือโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อทำการค้า
อาจารย์นิยะปาร์ ระเด่นอาหมัด ได้กล่าวถึงความหมายของคำว่า “รองเง็ง” ของขุนจารุวิเศษศึกษากร ว่า รองเง็ง ไม่ใช่ภาษาในมาลายูและไม่ทราบว่าเป็นภาษาใด แต่สันนิษฐานว่าคงมาจากเสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง โดยกลองรำมะนาดัง ก็อง ก็อง และเสียงตีฆ้องเหล็กดัง แง็ง แง็ง ก็เลยเรียกการละเล่นนี้ว่าก็องแง็ง แต่คำว่าก็อง ในภาษามาลายูแปลว่าบ้าๆ บอๆ ซึ่งมีความหมายไม่เป็นมงคลนัก จึงแกล้งออกเสียงให้เพี้ยนไปเป็นรองแง็ง ประกอบกับลิ้นชาวมาลายูไม่สันทัดในการออกเสียงแอ จึงออกเสียงแง็ง เป็น เง็ง ก็เลยมีการเรียกว่า “รองเง็ง” ด้วย
นอกจากนั้นขุนจารุวิเศษศึกษากร ยังกล่าวถึงความเป็นมาของรองเง็งว่า เมื่อพ่อค้าชาวโปรตุเกสได้เข้ามาติดต่อทำการค้าขายในแหลมมาลายู ราว พ.ศ. ๒๐๖๑ ซึ่งตรงกับสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา พ่อค้าได้นำเอาแบบฉบับการเต้นรำของตนมาแสดงให้ชาวพื้นเมืองได้เห็นในวันขึ้นปีใหม่ โดยมีการจัดงานรื่นเริงสังสรรค์และเต้นรำเป็นคู่ ชาวพื้นเมืองเห็นจึงเกิดความสนใจจึงพยามยามจดจำแบบอย่างและนำไปเต้นก็เลยวิวัฒนาการกลายมาเป็นรองเง็งจนทุกวันนี้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าจุดเริ่มต้นของรองเง็งนั้นมาจากที่ใด บ้างก็ว่ากำเนิดครั้งแรกที่มะละกา บ้างก็ว่าที่เมืองตรังกานู บ้างก็ว่าที่เมืองปัตตานี ทั้งนี้เพราะชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายที่เมืองเหล่านี้ก่อน
สำหรับประเทศไทย การแสดงรองเง็งคงมาจากการที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้รับสืบทอดมาจากมาเลเซียอีกต่อหนึ่ง ทั้งนี้เพราะอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกันจึงสามารถสืบทอดศิลปะดังกล่าวนี้โดยไม่มีความขัดเขิน
ศิลปะการเต้นรองเง็งในภาคใต้สมัยโบราณ การแสดงรองเง็งนิยมจัดเฉพาะในวัง และบ้านขุนนาง หรือเจ้าผู้ครองนครเท่านั้นใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๙ - ๒๔๔๙ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เช่น ในวังของพระยาพิพิธเสนามาตยิบดี ศรีสุรสงคราม (เจ้าเมืองยะหริ่ง) หรือรายายะหริ่ง ให้หญิงสาวซึ่งเป็นข้าทาสบริพารฝึกการเต้นรองเง็งเพื่อต้อนรับแขกเหรื่อในงานรื่นเริงหรืองานพิธีต่างๆ เป็นประจำ ที่สังเกตประการหนึ่งว่าวัฒนธรรมมุสลิม แขกที่รับเชิญส่วนใหญ่เป็นแขกผู้ชายและเป็นผู้สูงศักดิ์ทั้งสิ้น เมื่อเสร็จงานเลี้ยงก็จะมีการรื่นเริงสนุกสนาน โดยการเต้นรองเง็ง

ภายในงานผู้หญิงที่ไม่ใช่ผู้เต้นจะไม่มีโอกาสเข้ามาร่วมเพราะชาวมุสลิมไม่นิยมให้สตรีเข้าสังคมกับบุรุษเพศ ฉะนั้นนอกจากข้าทาสบริวารของเจ้าเมืองแล้ว ไม่มีผู้หญิงอื่นมีโอกาสเต้นรองเง็งมีเพียงแต่การนั่งดูและเต้นเท่านั้น ทำให้การเต้นรองเง็งในระยะแรกจึงนิยมกันเพียงวงแคบๆ แม้แต่ในมาลายูก็นิยมการเต้นรองเง็งกันน้อยมาก
ต่อมาได้แพร่หลายออกไปสู่ชาวบ้านโดยผ่านการแสดงมะโย่งเมื่อมีการหยุดพักการแสดงประมาณ ๑๐ - ๑๕ นาที ก็นำเอาศิลปะการแสดงรองเง็ง หรือการเต้นรองเง็งออกมาแสดงเป็นรายการสลับฉาก ตัวมะโย่งหญิงจะร้องเชิญชวนให้ผู้ชมขึ้นไปร่วมเต้นรองเง็งด้วย ทำให้การเต้นรองเง็งกลายเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานถูกใจชาวบ้านมากถึงกับมีผู้ตั้งคณะรองเง็งขึ้นมาในลักษณะของรำวง คือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมเต้นรำกับหญิงรองเง็งแล้วเก็บค่าเต้นด้วย จนบางครั้งการเต้นมุ่งแต่ความสนุกสนานและเงินรายได้ไม่รักษาแบบฉบับที่สวยงามซ้ำยังนำเอาจังหวะเต้นรำอื่นๆ เข้ามาเต้น เช่น รุมบ้าแซมบ้า ฯลฯ จนทำให้การเต้นรองเง็งแต่เดิมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ควรจึงทำให้การเต้นรองเง็งเสื่อมความนิยมไปชั่วระยะหนึ่ง
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้มีการรื้อฟื้นรองเง็งขึ้นมาอีกครั้งโดยท่านขุนจารุวิเศษศึกษากร ศึกษาธิการอำเภอเมืองปัตตานีได้นำเพลงรองเง็งดั้งเดิม ๒ เพลง คือ ลากูดูวอ และเมาะอินังชวา มาปรับปรุงท่าเต้นเพื่อใช้แสดงในงานปิดอบรมศึกษาภาคฤดูร้อนของคณะครูจังหวัด ทำให้การแสดงรองเง็งเป็นแปลกใหม่และได้รับความสนใจจากคนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาสมาคมสมางัด ของชาวมุสลิมในจังหวัดปัตตานี ได้นำเพลงจินตาซายัง ปูโจ๊ะปัซัง เลนัง ฯลฯ เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย จึงทำให้เพลงรองเง็งเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีผู้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมประดิษฐ์ดัดแปลงท่าเต้นขึ้นมาใหม่ จากท่าเดินของหนังตะลุง และท่ารำของไทย ทำให้เพลงรองเง็งมีจำนวนเพลงทั้งหมด ๑๓ เพลง
สำหรับศิลปะการแสดงรองเง็งในแถบชายฝั่งทะเลแถบตะวันตก เล่ากันว่าเกิดขึ้นครั้งแรกที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดยมีชาวบ้านหัวแหลม ชื่อนางย่าเหรี้ยะ ย่าเล็น ได้ฝึกการรำและร้องเพลงมาจากปีนังและได้เผยแพร่ในหมู่เพื่อนฝูง ต่อมา นายหมานและนายหวัง กัวลามูดา มาช่วยเล่นดนตรีให้ จึงได้มีการฝึกหัดร้องและรำขึ้นเป็นครั้งแรก คือ นาย แปแนะ สะหมาน นายหมาดเดีย บุตรหมีน นายจัน ระเสยบุตร นางอิตำ นางติมา และนางไปต๊ะ เป็นต้น
สำหรับการเข้ามาของศิลปะการแสดงรองเง็ง นั้นมีอยู่ ๒ กระแส คือ กระแสที่ ๑ มีความเห็นว่าอาจจะเข้ามาทางราชสำนักในบริเวณหัวเมืองมุสลิมภาคใต้ ภายหลังได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนโดยผ่านทางการแสดงมะโย่ง และอีกกระแสหนึ่งกล่าวว่าศิลปะการแสดงรองเง็งที่เริ่มจากเกาะลันตา โดยได้รับมาจากปีนังโดยตรงเริ่มที่บ้านหัวแหลม อำเภอเกาะลันตา ญาติพี่น้องที่อยู่ในเมืองปีนังเป็นผู้นำมาแสดงเผยแพร่ ครั้งแรกๆ มีเพียงการร้องและรำเท่านั้น ยังไม่มีเครื่องดนตรีประกอบบทร้องเป็นภาษามาลายูยากแก่การเข้าใจ ภายหลังได้มีการปรับภาษาเนื้อร้องให้เป็นภาษาไทยพร้อมกับนำเอาเครื่องดนตรี ซอ และกลองรำมะนามาให้จังหวะในการเต้น จึงทำให้การเต้นและการร้องเพิ่มความสนุกสนานยิ่งขึ้น ศิลปะการแสดงนี้จึงแพร่กระจายไปในหมู่ชาวบ้านริมฝั่งทะเลตะวันตกอย่างรวดเร็วและเรียกการแสดงนี้ว่า “รองเง็งตันหยง” หรือ “ตันหยง” คงเป็นเพราะบทร้องโดยทั่วไปของ

ศิลปะการแสดงชนิดนี้มักเริ่มด้วยคำว่า “ ตันหยง ตันหยง” อันหมายถึง การนำดอกไม้แต่ละชนิดมาเปรียบเทียบหรืออ้างถึง
ศิลปะการแสดงรองเง็ง ที่เข้ามาทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกของภาคใต้ มีลักษณะที่แตกต่างจากกับศิลปะการแสดงของมาลายูเกือบโดยสิ้นเชิง มีเพียงแต่ทำนองและและท่าเต้นเท่านั้นที่ยังคงลักษณะคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะบทร้องเนื่องจากใช้ภาษาไทยจึงทำให้แตกต่างกันอย่างมาก ลักษณะกลอนที่ผูกขึ้นร้องโต้ตอบกันระหว่างนางรำกับชายคู่รำก็มักจะเป็นกลอนปฏิภาณมากกว่ากลอนที่ท่องจำกันต่อๆ มา รวมทั้งการแสดงไม่จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่คนไทยมุสลิม แต่ยังเป็นที่นิยมของชาวไทยพุทธในท้องถิ่นแถบนี้ด้วย
เห็นได้จากการที่มีงานบวช หรือ งานมงคลต่างๆ ชาวไทยพุทธนิยมรับคณะรองเง็งมาแสดงในงานอยู่เสมอนับว่าศิลปะการแสดงรองเง็ง หรือ ตันหยง เป็นการแสดงผสมผสานทางวัฒนธรรมไทยมุสลิมกับไทยพุทธอย่างเห็นได้ชัด
ลักษณะการแสดง
ลักษณะการแสดงรองรองเง็งที่เหมือนกันกับรำวง คือ
มีการแบ่งการเต้นเป็นรอบๆ หรือเป็นเพลง นางรำเมื่อรำเสร็จจะกลับไปนั่งยังที่จัดเตรียมไว้ให้
เมื่อเพลงใหม่ดังขึ้น นางรำก็แต้นรำต่อจนจบเพลง
โอกาสที่จะแสดง ในอดีตจะมีการแสดงรองเง็งหรือ ตันหยง จะแสดงตามเทศกาลวันสำคัญต่างๆ ปัจุจบันมักแสดงในงานรื่นเริงหรืองานที่เป็นมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวช งานเทศกาลของหมู่บ้าน เป็นต้น

องค์ประกอบของการแสดงรองเง็ง
ผู้เต้นรองเง็ง ศิลปะการแสดงรองเง็งเป็นศิลปะการแสดงหมู่ ประกอบด้วยผู้เต้นทั้งชาย และหญิงเป็นคู่ จำนวนคู่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่ แต่ที่นิยมเต้นกันไม่ต่ำกว่า ๕ คู่ ชาย - หญิงฝ่ายละ ๕ ชายหนึ่งแถวและหญิงหนึ่งแถว ยืนห่างกันพอสมควรเพื่อความงามของการแสดงหมู่ ผู้แสดงจะต้องรู้จักจังหวะเพลงและลีลาในการเต้นงดงาม
ท่าเต้น จะมีลีลาเต้นเคลื่อนไหวทั้งมือและเท้า รวมทั้งลำตัวอย่างนิ่มนวล จุดเด่นของการเต้นอยู่ที่การเต้นเปลี่ยนจังหวะช้าและเร็วของเพลงที่ใช้เต้น ลีลาของผู้เต้นก็จะเปลี่ยนไป บางเพลงมีลีลายั่วเย้าอารมณ์ และมีการหลบหลีกหยอกล้อเล่นหูเล่นตา บางเพลงมีการหมุนตัวสลับกันบ้าง นอกจากนั้นความงามอีกอย่างหนึ่งของการเต้นรองเง็งคือความพร้อมเพรียงในการเต้นและการก้าวเท้าไปหน้าและถอยหลังของท่าเต้น
สาขา/ประเภท
โน้ตเพลง บทเพลง บทละคร
เพลงและทำนองเพลง
เพลงและทำนองเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของ ศิลปะการแสดงรองเง็ง หรือ ตันหยง และสาเหตุหนึ่งที่เรียกการละเล่นนี้ว่า “เพลงตันหยง” หรือ “ตันหยง” ในจังหวัดกระบี่ และจังหวัดภูเก็ต คงเพราะเนื้อเพลงที่นิยมร้องโต้ตอบกันมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “ตันหยง ตันหยง.....”
เนื้อเพลงตันหยงสามารถกำหนดลักษณะฉันทลักษณ์โดยทั่วไปของเพลงได้ ดังนี้
บทหนึ่งมี ๔ วรรค แต่ละวรรคมี ๔ – ๘ คำ วรรคต้นมี ๘ คำ มักจะขึ้นต้นด้วยด้วยคำว่า “ตันหยงตันหยง......” ซึ่งหมายถึงดอกไม้อันเป็นภาพตัวแทนของผู้หญิง
วรรคที่ ๒ มี ๗ - ๘ คำ ขึ้นด้วย “หยงไหรละน้อง......ยังดอก....” แล้วใส่ชื่อดอกไม้หรือต้นไม้ตามที่คิดไว้เข้าไปเป็นคำต่อไปจนครบ ๘ คำ
วรรคที่ ๓ และวรรคที่ ๔ มี ๗ – ๘ คำ
วรรคที่ ๕ มี ๔ คำเหมือนวรรคแรก
วรรคที่ ๖ มี ๗ – ๘ คำ มักใช้ซ้ำกับวรรคที่ ๔
วรรคที่ ๘ มี ๗ – ๘ คำเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น
ตันหยงตันหยง กำปงแลน้องยังดอกกาบลาว
ยกขึ้นแต่งตัวแต่หัวเช้า นกบินหลายเล่าข่าวน่าสงสาร
ใครไปบางกอกมั่ง บอกให้ร้อยช่างน้อยอย่าอยู่นาน
นกบินหลาเล่าข่าวน่าสงสาร ทำให้บังนี้รำคาญใจ
ยามค่ำแลยามค่ำ เสียงหริ่งไรมันร่ำอยู่หริ่งหริ่ง
ข้องใจถึงน้องของบังจริง บังเอาหลังไปพิงที่ปากตู
กระบี่ต้องเป็นสอง ถ้าไม่ได้น้องบังก็ไม่อยู่
บังเอาหลังไปพิงที่ปากตู น้องสาวไม่รู้หัวใจบัง
บูงาตันโย้ง กำปงแลน้องโย้งต้นผักกาด
บังไปไม่รอดเสียแล้วเด้ ถูกเหนน้ำตาปลาดุหยง
ตันหยงตันหยง กำปงแลน้องโย้งต้นผักกาด
บังนี้เดินเล่นอยู่ริมหาด เห็นน้องคิ้ววาดนั่งต่อยหอย
ต่อยอยู่ปกปก ได้หอยกี่พรกละน้องสาวน้อย (ซ้ำ)
เห็นน้องคิ้ววาดนั่งต่อยหอย น้องเอ่อน้ำย้อยสองแคมหีน
ปัจจุบันศิลปะการแสดงรองเง็ง นอกจากมีการพัฒนาเนื้อร้องที่เป็นภาษาไทยแทนแล้ว ยังได้คิดท่ารำเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น ปารีหาดยาว ซินาโด้ง ปารีใหม่ ยางโค้ง เป็นต้น ศิลปะการแสดงรองเง็งในปัจจุบันกำลังหาดูได้ยากขึ้นทุกที คนรุ่นใหม่หรือคนหนุ่มสาวขาดความสนใจที่จะสืบทอดอย่างจริงจัง ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งบันเทิงใหม่ๆ เข้ามาอย่างรวดเร็ว กลุ่มศิลปินที่เหลือล้วนมีอายุแล้วทั้งสิ้น จึงควรที่จะสืบสาน สืบทอดและเผยแพร่ศิลปะการแสดงรองเง็งให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่นต่อไป
อุปกรณ์
การแต่งกาย
เดิม ฝ่ายชายที่ได้รับเชิญไปในงานจะแต่งกายตามแบบพื้นเมือง คือนุ่งกางเกงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง มีผ้านุ่งทับข้างนอกยาวเหนือเข่าเล็กน้อย สวมหมวกแขกสีดำ ผ้าที่ทับข้างนอกจะแสดงฐานะของเจ้าของได้เป็นอย่างดี สังเกตจากการที่นุ่งผ้าถ้ามีฐานะดีก็จะนุ่งผ้าไหมยกดิ้นทอง รองลงมาก็จะเป็นผ้าฝ้ายธรรมดา จนถึงผ้าโสร่งปาเต๊ะธรรมดา
ผู้หญิง มักจะแต่งเป็นชุดทั้งโสร่งและเสื้อเป็นดอกสีเดียวกัน และมักมีสีสดๆ ตัวเสื้อแขนยาวผ่าอกตลอดหรือเสื้อคอชวาแขนสามส่วน นุ่งผ้ากรอมเท้ามีผ้าคลุมไหล่ปักดิ้นหรือลูกไม้ตามฐานะ
ปัจจุบันการแต่งกายของนางรำ นิยมแต่งกายแบบหญิงไทยมุสลิมทั่วไป คือ นุ่งผ้าถุงปาเต๊ะ สวมเสื้อยาหยา และนิยมผ้าที่เป็นลูกไม้สีสดใส มีผ้าคล้องคอ สำหรับคณะไหนที่มีผู้ชายจะนิยมแต่งกายแบบชุดพิธีของชายมาลายู คือ นุ่งกางเกงขายาว ใช้ผ้าโสร่งพับครึ่งนุ่งทับกางเกงอีกที ใส่เสื้อแขนยาวนิยมสีขาวหรือสีอ่อน สอดชายไว้ในกางเกง สวมหมวกด
เครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย ไวโอลีน รำมะนา และฆ้อง
การแสดงรองเง็ง มีการพัฒนาการมาจากการแสดงรองเง็งของมาเลเซีย ในช่วงแรกๆ การละเล่นดังกล่าวไม่ได้นำเครื่องดนตรีมาเล่น ภายหลังมีผู้คิดเครื่องดนตรีขึ้นมาใช้ประกอบจังหวะเพลง คือ รำมะนา และซอ ต่อมาใช้ไวโอลีนแทนซอเป็นเครื่องสายตัวหลักในการบรรเลงท่วงทำนองเพลง
ไวโอลีน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ใช้คันชักสีเป็นซอที่มีขนาดเล็กที่สุด มีความยาวมาตรฐาน ๒๓.๓๐ นิ้ว ส่วนที่เป็นกะโหลกซอยาว ๑๔ นิ้ว
รำมะนา มาลายูเรียกราบานา รูปร่างเป็นกลองแบนๆ ขึงด้วยหนังเพียงหน้าเดียว เป็นเครื่องประกอบจังหวะ โดยทั่วไปรำมะนาใช้ทำเสียงประกอบเพลงพื้นเมืองของสเปน ยิบซี อิตาเลียน และแขก ปัจจุบันบางคณะเพิ่มกลองแขกเข้ามาเพื่อให้จังหวะกระซับและชัดเจนขึ้น
ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของชาวตะวันออก ทำด้วยสัมฤทธิ์มีหลายชนิดหลายขนาด ฆ้องที่ใช้กำกับจังหวะเพลงรองเง็งเป็นฆ้องเดี่ยว มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๓๐ - ๘๐ ซม. เจาะรูร้อยเชือกตรงขอบสำหรับแขวนหรือถือ ปลายไม้ตีหุ้มด้วยหนัง เสียงของฆ้องดังกังวาน ผู้เต้นรองเง็งจะยึดเสียงฆ้องเป็นหลักในการก้าวเท้า แตะเท้าตามลีลาท่าเต้นของเพลงนั้นๆ
สถานที่ในการแสดง
ในสมัยโบราณศิลปะการแสดงนิยมเล่นบนลานดินกว้าง ๆ หรือตามชายหาด ปัจจุบันเพื่อความสะดวกและนิยมปลูกเวทีเตี้ยขึ้นมาเพื่อความเป็นสัดส่วนสำหรับผู้เล่น

กลองรำมะนา
กลองรำมะนา ภาษามาลายู เรียกว่า “ราบานา” มีรูปร่างเป็นกลองแบนๆ ขึงด้วยหนังเพียงด้านเดียว เป็นเครื่องประกอบจังหวะในเพลงตันหยง เพลงรองเง็ง โดยทั่วไปแล้วกลองรำมะนาใช้กำกับเสียงประกอบเพลงพื้นเมืองของสเปน อิตาเลียน และอินเดีย
สำหรับรองเง็งโรงเรียนเกาะยาววิทยาใช้กลองรำมะนา ๓ ใบ และกลุ่มรองเง็งเกาะยาวใช้กลองรำมะนา ๒ ใบ หน้ากลองทำด้วยหนังแพะ
วิธีการตั้ง ใช้ไม้ยึดกลองรำมะนา แล้วดึงเชือกให้แน่น ตรวจสอบเสียงตามลำดับเสียง โดยไม่มีการตั้งตัวโน๊ต แต่สังเกตจากเสียงที่ต่างกันของกลองทั้ง ๒ ใบ โดยใบเล็กจะมีเสียงทุ้มกว่าใบใหญ่ และเหมาะที่จะแสดงในเวลากลางคืนมากกว่าเวลากลางวัน เนื่องจากหนังกลองจะสามารถยืดได้ดีในเวลากลางคืน เมื่อเสร็จการแสดงแล้วจะต้องผ่อนเชือกออก
ไวโอลิน
ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ใช้คันชักสี เป็นซอที่มีขนาดเล็กที่สุด มีความยาวมาตรฐาน ๒๓ นิ้วครึ่ง ส่วนที่เป็นกะโหลกซอยาว ๑๔ นิ้ว
วิธีการเล่น ใช้หนีบใต้คางแล้วสี เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงแหลมใส อ่อนหวาน สามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ทั้งอารมณ์สนุกสนานและเศร้าสร้อย ผู้เล่นต้องใช้เวลาฝึกนานจึงจะเล่นไวโอลีนได้เก่งและชำนาญ
ไวโอลินจะเป็นตัวหลักของการบรรเลงเพลงท่วงทำนองเพลง
ส่วนประกอบ ของไวโอลิน มีเส้นเสียงทั้งหมด ๔ สาย วิธีการตั้งเสียงไวโอลิน โดยวิธีบิดลูกหลักไปมาให้ตึง เพื่อตั้งเสียงตามความทรงจำ และความรู้สึกของนักดนตรีวัดเสียงของสายแต่ละเส้น
นับเป็นวิธีตั้งโดยไม่มีการตั้งตามตัวโน๊ต เนื่องจากไม่เคยเรียนมาก่อน สำหรับรองเง็งโรงเรียนเกาะยาววิทยาและกลุ่มรองเกาะยาว ใช้ไวโอลิน จำนวน ๑ ตัว
ฆ้อง
เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของชาวตะวันตก ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหลายชนิดหลายขนาด ฆ้องที่
ใช้กำกับจังหวะเพลงรองเง็งเป็นฆ้องเดี่ยว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๓๐ - ๘๐ เซนติเมตร เจาะรูร้อยเชือกตรงขอบสำหรับแขวนหรือถือ ปลายไม้ตีหุ้มด้วยหนังอ่อนๆ เสียงของฆ้องดังกังวานกระหึ่ม ผู้เต้นรองเง็งจะยึดเสียงฆ้องเป็นหลักในการใช้เท้า แตะเท้าหรือเล่นเท้าตามลีลาท่าเต้นของเพลงนั้นๆ สำหรับรองเง็งโรงเรียนเกาะยาววิทยาใช้ฆ้อง ๑ ตัว แต่กลุ่มรองเง็งเกาะยาวไม่ใช้ฆ้อง
กระบวนท่า
จังหวะหาดยาว

ผู้หญิง จีบตั้งวงต่ำข้างลำตัวผู้ชาย สลับซ้าย - ขวา เท้าแตะไปหลังสลับซ้าย - ขวา
ผู้ชาย ตั้งวงกว้างระดับไหล่ จีบซ้ายขวาสลับกัน โอบผู้หญิง เท้าแตะไปหลังสลับซ้าย – ขวา
จังหวะปาหรี๊

ผู้หญิง มือจับผ้าสลับขึ้นลงทำท่าปัดป้อง ซอยเท้าถี่ๆ ซ้ายขวา ขยับไหล่ เอว
ผู้ชาย หงายฝ่ามือยื่นไปข้างหน้าระดับไหล่ โอบฝ่ายหญิง ซอยเท้าถี่ๆ ซ้ายขวา ขยับไหล่ เอว
จังหวะยะโห่ง

ผู้รำทั้งหญิงชาย เปิดส้นเท้าข้างหนึ่ง มือเท้าสะเอว ส่ายสะโพก

จังหวะยะโห่ง (ท่าตีเข่า)
ผู้รำทั้งหญิงชาย มือซ้ายเท้าสะเอว มือขวากำมือหงายขึ้นมาเหนือเข่าด้านที่ยกขึ้น
มาระดับเอวสลับกันไปมา

จังหวะยะโห่ง (ท่าสะบัดสะโพกเข้าหากัน)

ผู้รำทั้งหญิงชาย ก้าวเท้าไปข้างหน้า สะบัดสะโพกเข้าหากัน มือยกระดับเอวแล้วสะบัดขึ้นลง
จังหวะยะโห่ง (ท่าโยกตัวตามกัน)

ผู้รำทั้งหญิงชาย ก้าวเท้าไปข้างหน้า โยกตัวตามกัน และหมุนมือ

จังหวะยะโห่ง (ท่าผัด)

ผู้รำทั้งหญิงชาย ก้าวเท้าไปข้างหน้า กางแขนสะบัดไหล่เข้าหากัน แล้วโน้มตัวตามกันไปมา
คุณค่า
การแสดง

การแสดงรองเง็ง โรงเรียนเกาะยาววิทยาและกลุ่มรองเง็งเกาะยาว

ประกอบด้วยท่าเต้นทั้งหมด ๓ เพลง
๑. ลาฮูดัว เต้นจังหวะเร็ว
๒. ม๊ะอินัง เต้นจังหวะเร็ว
๓.ปุหลงปูเก้ เต้นจังหวะนิ่มนวล

องค์ประกอบของการแสดงรองเง็ง
๑. นักแสดง รองเง็งเป็นศิลปะการแสดงหมู่ ประกอบด้วยผู้เต้นทั้งชายและหญิง หรือผู้หญิงล้วนก็ได้ ผู้เต้นต้องเป็นผู้ที่รู้จังหวะเพลงและลีลาในการเต้น การยืนของผู้เต้นห่างกันพอสมควร
๒. ท่าเต้น เมื่อดนตรีบรรเลงเพลง ผู้เต้นจะเต้นตามจังหวะ ลีลาท่าเต้นจะเคลื่อนไหวทั้งมือ เท้าและลำตัวอย่างนิ่มนวล เพลงรองเง็งทั้งหมดในแต่ละเพลงไม่ปะปนกัน ผู้แสดงต้องจำท่าทาง ลีลาการเต้นและเพลงที่เต้น ว่าเพลงไหนใช้ท่าอย่างไร
จุดเด่นของการเต้น เมื่อมีการเปลี่ยนท่าเต้น ลีลาท่าเต้นก็จะเปลี่ยนไปตามจังหวะของเพลง
๓. การแต่งกาย ผู้เต้นจะแต่งกายแบบพื้นเมืองของพังงา
๔. การแสดง สำหรับการแสดงนั้น นิยมเล่นในโอกาสรื่นเริงต่างๆ เช่น งานเลี้ยงฉลอง งานพิธีเปิดต่างๆ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาสำหรับการแสดง ถ้าใช้เวลายาวนานเกินไปผู้ชมจะเกิดความเบื่อหน่ายมากกว่าความสุข ดังนั้นการแสดงรองเง็งเจ้าภาพที่จัดงานมักจะกำหนดเวลาให้สำหรับผู้แสดง
๕. เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบการเต้น การแสดงรองเง็งได้แก่ ไวโอลิน กลองรำมะนาและฆ้อง

บทเพลงประกอบการแสดงรองเง็ง
สำหรับบทเพลงประกอบการแสดงรองเง็งเนื้อเพลงส่วนใหญ่ เป็นบทเกี้ยวพารานาสี หรือบทบรรยายความงามของธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ แล้วแต่คณะรองเง็งจะให้ไปในแนวทางใด
สำหรับบทเพลงประกอบการแสดงรองเง็งเท่าที่คณะกรรมการได้รวบรวมจากคณะรองเง็งโรงเรียนเกาะยาววิทยา มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ดังนี้
“จ๊ะมาหมาด”
โหยงดอกกำ…ถึงรูปบังชั่วตัวบังดำ…เป็นเจ้าเขาทำไม่ป้าหยา… ถ้าบังทำเองได้
บังทำให้คล้ายด้วยมิตร ชัยบัญชา…เป็นเจ้าเขาทำไม่ป้าหยา…ในใจบังน๊ะ…ให้สวยเหอ
“หย่าโห่ง”
ตันหยง ตันหยง…กำปงบังหนอ หยงดอกดีปลี… ถ้าน้องกินกล้วยอย่าลืมหวี
อย่าลืมบังนี้ลูกคนจน…น้องเจ้าผมหอม ได้กินน้ำบ่อ แล้วอย่าลืมน้ำฝน…อย่าลืมบังหนอลูกคนจน
จนแล้วน้องหนอกำพร้าด้วย…
“ซายังลา”
ตันหยง ตันหยง…กำปงน้องหนอ ดอกลอกอ… ขอลาสักทีหนอบังหนอ อาบน้ำ ร่วมบ่อกันสักหน… เจ้าน่าอาบน้ำ บ่อใหม่ สีสะบน…อาบน้ำร่วมบ่อกันสักหน ชั่งหัวบังหนอน้องทนเย็น…
“ลาฮูดัว”
หยงไรบังเออ หยงดอกเขือ… น้องบอกว่ารักบังไม่เชื่อ เอายามาเบื่อ น้องให้ตาย… คิดจะร่วมห้อง ชีวิตของน้อง เท่าเส้นด้าย… เท่าเส้นด้าย… อย่าเอามาเบื่อน้องให้ตาย…คอแห้ง น้ำลายกลืนไม่มี…

“ม๊ะอีนัง”
หยงไรบังเหอ หยงดอกไคร… ไม่รักกาแล้วไป เหลียวหลังสั่งใยถ้ายังข้อง…เหลียวหลังสั่งรักยาร่ำร้อง เหลียวหลังสั่งใยใจยังข้อง อย่าร้องบังเหอน้องร้องด้วย…
“หาดยาว” (๑)
ดอกดีปลี…บังเข้ามารำในบ้านนี้ บังขอสวัสดีไปทุกคน…ทั้งหญิงทั้งชาย บังขอยกมือไหว้ไม่ให้ตกหล่น… ขอสวัสดีไปทุกคน หน้ามลน้องหนอพลัดบ้านมา…
“หาดยาว” (๒)
โหย่งดอกพลา ไม่รักน้องหนอ บังไม่มา ข้ามท่องข้ามนามาหลายแห่ง… ทิ้งข้าวทิ้งของ ทิ้งพี่ทิ้งน้องเพราะรักน้องดำดง…ข้ามท่องข้ามนา มาหลายแห่ง มาถึงดำแดงไม่แหลงด้วย…
“ลาฮูใหม่”
โหย่งดอกกุล เกิดมาชาตินี้ไม่มีบุญ เอาไหรแทนคุณน้องบุญเลิศ…ชาตินี้ไม่ได้ครอง ขอเป็นพี่น้องกันเสียเถิด เอาไหรแทนคุณน้องบุญเลิศ เกิดมาน้องหนอขอพบกัน
“สร้อยกำ”
โหย่งดอกกล้วย ถึงรูปร่างของบังนั้นไม่สวย น้องอย่าไปหลงรวย ด้วยคนไทย…คน แขกมีโขน้องสาวรูปโอ ยังไม่พอใจ…อย่าไปหลงรวยด้วยคนไทย ถ้าน้องตายไป ใครจะฝัง…
“ซีนาโด่ง”
โหย่งดอกเหร หลบบ้านไม่รอดเสียแล้วเด ถูกเหนน้ำตาปลาดูหยง… คดข้าวมาหนึ่ง
หวัก คิดถึงน้องรัก บังก็กินไม่ลง… ถูกเหนน้ำตาปลาดูหยง กินข้าวน้องหนอ ไม่ลงคอ…

สถานที่และโอกาสที่แสดง
การแสดงในสมัยโบราณนิยมเล่นกันเฉพาะผู้สูงศักดิ์ เพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และงานพิธีต่างๆ ที่มีความสนุกสนานรื่นเริง สถานที่สำหรับการแสดงเดิมเป็นลานกว้างๆ ปัจจุบันมีการแสดงแพร่หลายและจะแสดงบนเทวีเป็นส่วนใหญ่

ท่าทางการเต้นรองเง็ง
ท่าเต้นรำรองเง็งในแต่ละเพลง มีลีลาท่ารำประจำไม่ปะปนกันในแต่ละเพลง ผู้แสดงต้องจำบทเพลงและลีลาการเต้น/รำประจำเพลงแต่ละเพลงให้แม่นยำ เมื่อดนตรีเปลี่ยนก็สามารถเปลี่ยนท่าได้ทันที โดยปกติเพลงหนึ่งเพลงจะใช้ท่ารำหลายท่าจึงรำได้สวยงาม ชายและหญิงจะทำการสลามซึ่งกันและกันก่อนการเต้นทุกครั้ง สำหรับผู้คิดท่ารำให้แก่คณะรองเง็งโรงเรียนเกาะยาววิทยา คือ นายอภิรักษ์ สกุลสัน และนายม่าหน้อ เปกะมล
๑. ลาอูดัว เป็นจังหวะการเต้นจังหวะเร็ว
๒. มาอินัง เป็นจังหวะการเต้นจังหวะเร็ว
๓. บุหลงบุเก้ เป็นจังหวะเต้นรำที่นิ่มนวล

การเต้นรำท่าต่าง ๆ

รองเง็งคณะหนังขิกสี่หิ้ง

ประวัติความเป็นมา
คณะหนังขิกสี่หิ้ง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑๓ หมู่ที่ ๔ ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา โดยคนทั่วไปเรียกว่าบ้านโนนท่าค่าย หัวหน้าคณะชื่อนายขิก คุ้มครอง (ผู้ขับร้อง/ผู้ควบคุมวง/ผู้ฝึกอบรม) ชอบศิลปินพื้นบ้านภาคใต้มาตั้งแต่เด็กๆ และเห็นว่ารองเง็งที่จังหวัดพังงากำลังจะสูญหายไป จึงคิดที่จะทำการอนุรักษ์การแสดงรองเง็งของจังหวัดพังงาไว้ให้ได้นานที่สุด จึงได้เสาะแสวงหาเครื่องดนตรีมาใช้กับคณะ นอกจากนั้นต้องการให้เด็กๆ อนุรักษ์ศิลปะการแสดงรองเง็งไว้ จึงเริ่มฝึกสอนเด็กๆ ที่มีความสนใจเพื่อแสดงในงานต่างๆ และงานสาธารณกุศลของหมู่บ้าน
คณะหนังขิกสี่หิ้ง ได้ก่อตั้งเมื่อ ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอนนั้นยังเป็นคณะหนังตะลุงอยู่ ปัจจุบันได้สืบสานและอนุรักษ์ศิลปะการแสดงรองเง็งของจังหวัดพังงา เพราะเห็นว่ารองเง็งเป็นการละเล่นของชาวเกาะต่างๆ และเป็นการแสดงของคนอิสลามมาแต่โบราณ ส่วนใหญ่เป็นแขกชาวเกาะ หรือชาวไทยใหม่ และเมื่อถึงเทศกาลงานประจำปีก็มีการไหว้ผีลอยเรือที่ชายหาด จากนั้นก็มีการจับคู่ร่ายรำ เครื่องดนตรีที่ใช้จะใช้ไม้เคาะหรือตบมือเท่านั้น ส่วนการกำเนิดรองเง็งนั้นน่าจะกำเนิดที่จังหวัดกระบี่และคาดว่าอยู่ที่อำเภอเกาะลันตาเป็นแห่งแรก


เพลงที่ใช้ขับร้องรองเง็งของคณะหนังขิกสี่หิ้ง มีทั้งหมด ๗ เพลง ประกอบด้วย
๑. เพลงหาดยาว เพลงช้า เทียบกังจังหวะ SLOW
๒. เพลงละอูดัว เพลงช้า เทียบกังจังหวะ SLOW แต่เร็วกว่าเพลงหาดยาว
๓. เพลงปาหรี๊ เพลงเร็ว เท้าชิดไวๆ
๔. เพลงเม๊ยหนัง เพลงช้า
๕. เพลงซินาโด่ง เพลงช้า
๖. เพลงเจ๊ะม่าหมาด เพลงช้า
๗. เพลงยะโห่ง เพลงเร้าใจ เป็นจังหวะเด่น

ตัวอย่างเพลง อาทิเช่น
เพลงส่วนใหญ่จะขึ้นต้นด้วย ต้นผลา หรือ ต้นไทร และการจังหวะในการเต้นใช้จังหวะอะไรก็ได้ ตัวอย่างเพลง เช่น
อ่าย่ง อายง ยงไทรละน้องมียังต้นผลา ไม่รักตัวน้องยังไม่มา ต้องบุกน้ำท่วมข้ามป่ามาหลายแห่ง ขอถามยอดใยมาถึงหน้าใดไตรน้องไม่แหลง ต้องบุกน้ำท่วมข้ามป่ามาหลายแห่ง ว่ารักแรงเอียดน้อจึงตามมา
อ่ายง อ่ายง ยงไหรจะน้องมียังต้นไคร ยะยังและน้องขึ้นรถไป เหลียวหลังสั่งใยใจยังข้อง เหลียวหลังสั่งรัก อยู่เติดบุญหนักยาร่ำยาร้อง น้องน่อพี่ร้องด้วย เหลียวหลังสั่งใยใจยังข้อง อย่าร้องน้องน่อพี่ร้องด้วย
อายง อาย่ง ยงไหรละน้องมีส้มโอกลางบ้าน แตกกิ่งละน้องแตกก้าน ไทรไม่กวาดลานปลูกดอกบัว ลูกสาวเติ้นใหญ่ๆ ห่วงไว้ทำไทรไม่ให้ผัว ไทรไม่กวาดลานปลูกดอกบัว ให้ผัวเสียต้าได้ชมหลาน
ย่ง ย่ง ย่ง ยงไหรละน้องมียังต้นขี้เหล้ก ตัวน้องเป็นเด็กพี่เป็นเด็ก ขี่เรือลำเล็กรุนกุ้ง ให้น้องนอนให้ทุนพี่ชายลุยรุนให้น้ำฟุ้ง ขี่เรือลำเล็กไปรุนกุ้งให้น้ำคุ้ง น้ำคุ้งสองข้างแคม
ย่ง ย่ง ย่ง ย่งไหรละน้องมียังต้นปด ยกฉางยกนางตั้งบนรถ จูบพลางชมหลางยางไปเผล็ด ขับรถมาแสนไกล บอกแม่หน้าใยว่าใยไม่เว็ด จูบพลางชมพลางยางไปเผล็ด ล้าเห็ดขึ้นใต้ปลายคางยอ


บทร้อง ฟ้อนเล็บ

บทร้อง  ฟ้อนเล็บ
(ออกและเข้าใช้เพลงเดียวกัน)
     ตี้ปา  โม่ปา   ฮา........  
ซ้างไซยา   โอมองโละ
เลเปี้ยวมะลันโซ   มะโหลา.......
ลำมะแจ้  ตีปาดะแน
ป๊านป่านโต้เว   เฮ.......
เต้เตโล่ทา   ฮา....เต
เต้โล่ทา   คิดแต่โซ
โปลั่นเปียว   เนโสเอปั่งโม่ลา


บทร้อง ฟ้อนเงี้ยว

บทร้อง   ฟ้อนเงี้ยว
   ขออวยชัย
พุทธิไกรช่วยค้ำ
ทรงคุณเลิศล้ำ
ไปทุกทั่วตัวตน
จงได้รับ
สรรพมิ่งมงคล
นาท่านนา
ขอเทวาช่วยรักษาเทอญ
ขอฮื้ออยู่สุขา
โดยธรรมานุภาพเจ้า
เทพดาช่วยเฮา
ถือเป็นมิ่งมงคล
สังฆานุภาพเจ้า
ช่วยแนะนำผล   สรรพมิ่งทั่วไปเทอญ
มงคลเทพดาทุกแห่งหน
ขอบันดาลช่วยค้ำจุน
มงแซะ  มงแซะ  แซะมง ตะลุ่มตุ้มมงๆ

บทร้อง ระบำไกรลาสสำเริง

บทร้อง ระบำไกรลาสสำเริง
(ออกและเข้าเพลงไกรลาสสำเริง)      
     พวกเราล้วนชาวไกรลาสคีรี
รื่นเริงฤดีเกษมสุขศรีสโมสร
ขอรำร่ายกรีดกรายฝ่ายฟ้อน
ให้สุนทรทัศนาสุขารมณ์      
  ร่วมเริงสำราญระรื่นชื่นบานในงานฉลอง
กล่าวคำทำนองให้สอดประสานเสียงประสม
ตามประเพณีแต่ก่อนกาลบุราณนิยม
ขอเชิญชมภิรมณ์รื่นสำเริงฤทัย
ชาวไกรลาสมาดหวังตั้งใจ
อวยพรให้วิโรจน์รุ่งวรานันต์ (ซ้ำ)  
     แวดล้อมพร้อมหน้าเหล่ากินราและกินรี
หมู่พญาวาสุกรีอีกครุฑาและคนธรรพ์
เหล่าเทพธิดาโสภาลาวัณย์
เทพไททุกชั้นอสูรกุมภัณฑ์วิทยาธร
ผู้มีคุณธรรมประจำตนเป็นคนดี
ซื่อตรงคงที่ไม่ผันแปรเที่ยงแท้แน่นอน
บากบั่นมั่นจิตมิคิดย่อหย่อน
เทพช่วยอวยพรและซร้องสรรเสริญเจริญชัย
ให้สันติ์เกษมสุขห่างภัยไกลทุกข์นิรันตราย
ผู้ผยองปองร้ายจงแพ้พ่ายมลายไป
สิ่งที่ประสงค์ขอจงเสร็จได้
เกีตรติระบือลือไกลทรัพย์สินเงินทองเนืองนองเทอญ